หลักการและแนวคิดการพัฒนาสหกรณ์ฯ

“และกิจการสหกรณ์ในประเทศไทยนี้ ก็คือ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความเห็นอกเห็นใจ ความ……ที่เรียกว่าความซื่อสัตย์ สุจริตกันต่อกัน คือ ไม่ใช่ว่าซื่อสัตย์ สุจริตในการปฏิบัติแต่ละคน แต่ว่าซื่อสัตย์ สุจริตต่อกัน ถือว่าสหกรณ์นี้เป็นชีวิตจิตใจของตน ถ้าสหกรณ์อยู่ดี แต่ละบุคคลซึ่งเป็นส่วนประกอบของสหกรณ์ก็อยู่ดี”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช


ณ ศาลาดุสิดาลัย วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พุทธศักราช 2520

“สหกรณ์เป็นวิธีการจัดการรูปหนึ่ง ซึ่งบุคคลหลายคนรวมกันโดยความสมัครใจของตนเองในฐานะที่เป็นมนุษย์ โดยมีสิทธิ์เสมอหน้ากันหมด เพื่อบำรุงตัวเองให้เกิดความจำเริญในทางทรัพย์”

หลักการที่ 1 การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ

สหกรณ์เป็นองค์กรโดยสมัครใจ เปิดรับบุคคลทุกคนซึ่งสามารถใช้บริการของสหกรณ์ และเต็มใจรับผิดชอบในฐานะสมาชิก เข้าเป็นสมาชิก โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติในเรื่องเพศ ฐานะทางสังคม เชื้อชาติ การเมือง หรือศาสนา

หลักการที่ 2 การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย

สหกรณ์เป็นองค์กรประชาธิปไตยที่ควบคุมโดยสมาชิก ซึ่งมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบาย และการตัดสินใจของสหกรณ์ ชายและหญิงผู้ปฏิบัติงานในฐานะผู้แทนจากการเลือกตั้งต้องรับผิดชอบต่อบรรดาสมาชิกในสหกรณ์ปฐม สมาชิกมีสิทธิออกเสียงเท่ากัน (คนหนึ่งมีหนึ่งเสียง) และในสหกรณ์ระดับอื่นก็จัดให้ดำเนินการตามแนวทางประชาธิปไตยด้วย

หลักการที่ 3 การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก

สมาชิกพึงมีส่วนให้ทุนแก่สหกรณ์อย่างเป็นธรรม และควบคุมการใช้ทุนของสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย ตามปกติส่วนหนึ่งของทุนนั้นอย่างน้อยที่สุดต้องเป็นสินทรัพย์ส่วนรวมของสหกรณ์ และสมาชิกจะได้รับผลตอบแทนในอัตราจำกัด (ถ้ามี) จากการลงทุนในสหกรณ์ตามเงื่อนไขแห่งการเป็นสมาชิก บรรดาสมาชิกจะจัดสรรเงินส่วนเกิน เพื่อความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดดังต่อไปนี้ก็ได้ คือ เพื่อพัฒนาสหกรณ์ของพวกเขา โดยอาจก่อตั้งเงินสำรอง ซึ่งอย่างน้อยที่สุดส่วนหนึ่งของเงินสำรองนี้ จะแบ่งแยกมิได้ หรือจัดสรรเพื่อประโยชน์แก่สมาชิกตามส่วนของธุรกิจที่ได้ทำกับสหกรณ์หรือเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่นๆ ที่บรรดาสมาชิกเห็นชอบ

หลักการที่ 4 การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ

สหกรณ์เป็นองค์การช่วยตนเองและปกครองตนเองซึ่งควบคุมโดยสมาชิก ถ้าสหกรณ์เข้าทำข้อตกลงกับองค์การอื่นๆ รวมทั้งรัฐบาลหรือแสวงหาทุนจากแหล่งภายนอก สหกรณ์พึงทำข้อตกลงเช่นนั้นภายใต้เงื่อนไขอันมั่นใจได้ว่า บรรดาสมาชิกยังคงควบคุมสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย และจะต้องธำรงไว้ซึ่งสภาพการปกครองตนเองของสหกรณ์

หลักการที่ 5 การศึกษา การฝึกอบรม และข้อมูลข่าวสาร

สหกรณ์พึงให้การศึกษาและการฝึกอบรมแก่บรรดาสมาชิก ผู้แทนจากการเลือกตั้ง ผู้จัดการ และพนักงาน เพื่อบุคคลเหล่านั้น สามารถมีส่วนช่วยพัฒนาสหกรณ์ของพวกเขาอย่างมีประสิทธิผล และพึงให้ข่าวสารความรู้ในเรื่องลักษณะ และประโยชน์ของการสหกรณ์แก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนและผู้นำด้านความคิดเห็น

หลักการที่ 6 การร่วมมือระหว่างสหกรณ์

สหกรณ์พึงรับใช้สมาชิกอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด และทำให้ขบวนการสหกรณ์เข้มแข็งโดยการทำงานด้วยกันภายใต้โครงสร้างอันประกอบด้วยสหกรณ์ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับระหว่างประเทศ

หลักการที่ 7 ความเอื้ออาทรต่อชุมชน

สหกรณ์พึงทำงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนที่สหกรณ์ตั้งอยู่ ทั้งนี้ ตามนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิก

  1. ยกระดับการระดมทุนภายในเพื่อสร้างความมั่นคงและสร้างความเชื่อมั่นการบริหารจัดการ
  2. พัฒนาระบบบริการสินเชื่อ
  3. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  4. พัฒนาระบบบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ
ติดต่อสหกรณ์ฯ